วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

กระต่ายน้อย

เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ



ที่มา:https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhbLj0zEysBmxPgIAgwTr4Iyzsr0GcMXIjFN2NONMLul5ebSalGR0G-9mRoqHG_ENgUaV1x-OCz1zU3gUARWrasknQBi9-gF7RyC57BNEKluBQBewJFOf0uCKUMGnM0F1lSxACXsPlv_7MJ/s1600/rabbit+005.jpg

เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ (Netherland Dwarf) เจ้าขนปุยหนึ่งเดียวที่ ได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแหงวงการกระตายสวยงาม (Gem of the Fancy Rabbits) ซึ่งได้มีการนำเข้า สายพันธุ์คุณภาพระดับประกวดจากสหรัฐอเมริกามาในประเทศไทยเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2546 โดยสีที่นำเข้ามา คือ สีขาว ตาฟ้า, สีดำสร้อยทอง (Black Otter) และสีดำสร้อยเงิน และในปีต่อมาได้มีการนำเข้าสีอื่น ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ สีทองแดง (Siamese Sable) ,สีควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl) , สีฮิมาลายัน (Himalayan) และสีที่หายากอย่างสีวิเชียรมาศ (Sable Point) หรือสีพื้นต่าง ๆ อาทิ สีดำ ,สีบลู ,สีช็อกโกแลต ทำให้ในตอนนี้ ในตลาดบ้านเรามีกระต่าย เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ สีต่าง ๆ มากมายให้เลือกซื้อเลี้ยงกันตามความชื่นชอบ อีกทั้งกระต่ายพันธุ์นี้ยังเป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียงมากในวงการนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายสวยงาม จนได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแห่งวงการกระต่ายสวยงามนั่นเอง

กระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ หรือ เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ มีลักษะเด่น คือ ลำตัวสั้น กะทัดรัด ไหล่ สะโพก ความสูง สมมาตรกันอย่างสวยงาม หัวกลม โต สมดุลกันกับลำตัว คอสั้น หูตั้งตรง ขนนุ่ม-แน่น สม่าเสมอและเป็นมันเงางาม ลักษณะของขนเป็นแบบโรลแบ็ค (Rollback) คือ เมื่อหวีย้อนแนวขน จะสามารถกลับมาเป็นทรงเดิมได้ ตากลมโต สดใส หางตรงและมีขนเต็ม ลักษณะของสีขน สีตา และสี เล็บต้องตรงกันตามมาตรฐานของสีนั้น ๆ เช่น สีบลู หรือสีสวาด หรือสีเทาควันบุหรี่ ต้องมีตาสีเทา เป็นต้น น้ำหนักที่เหมาะสมเมื่อโตเต็มที่ คือ 0.9 กิโลกรัม ส่วนน้ำหนักมากที่สุดของสายพันธุ์นี้ คือ 1.15 กิโลกรัม

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ เป็นกระต่ายที่มีสีให้เลือกมากที่สุด โดยสามารถแบ่งได้ เป็น 5 กลุ่มสี และมีสีหรือลักษณะสีย่อย ๆ อีกกว่า 24 สี ตามมาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่าย แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวด ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Varieties), กลุ่มสีเฉด (Shaded Varieties) , กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Varieties) , กลุ่มแทนหรือกลุ่มมีสร้อย (Tan Varieties) และกลุ่มสีอื่น ๆ (Any Other Varieties)


ที่มา:http://burabbit.exteen.com/images/Netherland_Dwarf_breeds.jpg

ฮอลแลนด์ลอป


ที่มา:http://www.matichon.co.th/online/2011/02/12967239881296724063l.jpg

ส่วนกระต่ายที่ได้ชื่อว่าแสนรู้ที่สุด และเป็นที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยในตอนนี้ คงต้องยกตำแหน่งให้กับเจ้าหูตก ฮอลแลนด์ ลอป (Holland lop) เพราะเป็นที่ทราบกันดีถึงลักษณะที่น่ารัก และโดดเด่น คือ มีหูตกอยู่ที่ข้างแก้ม ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากกระต่ายปกติที่เราคุ้นเคย แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้เจ้าหูตกสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมในหมู่คนเลี้ยงกระต่าย แต่เป็นเพราะว่า ฮอลแลนด์ ลอป เป็นกระต่ายที่มีความเชื่องมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง และเป็นกระต่ายมีหุ่นแข็งแรง บึกบึน สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้ และยังรู้จักเจ้าของอีกด้วย

เรียกได้ว่าเป็นกระต่ายในดวงใจของหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่กระต่ายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยง จนมีการตั้งมอตโต้ของกระต่ายสาย พันธุ์นี้ ว่าเป็น ฮอลมาร์กบรีด (The Hallmark Breed) หรือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นตรา เครื่องหมายของกระต่ายเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ฮอลแลนด์ลอป ยังจัดได้ว่าเป็นกระต่ายกลุ่มหูตกที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีลักษณะเด่นที่หัวกลมโต ดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา น้าหนักน้อย ลำตัวสั้ น หูสั้ น ไหล่กว้างหนา และมีความสูงสมดุลกั ทั้ งตัว ในเพศผู้จะมีขนาดลำตัวและหัวที่ใหญ่กว่าเพศเมีย ส่วนน้าหนักของตัวผู้ที่เหมาะสมเมื่อโตเต็มที่ คือ 1.6 กิโลกรัม ตัวเมีย 1.7 กิโลกรัม และนํ้าหนักมากที่สุดที่พบคือ 1.8 กิโลกรัม ส่วนชื่อเรียกของ กระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปนั้น ในแต่ละประเทศจะเรียกแตกต่างกันไป เช่น ในประเทศอังกฤษ จะเรียก ฮอลแลนด์ลอป ว่า "มินิลอป" แต่เรียก มินิลอป ว่า "ดวอฟลอป"

ความแตกต่างระหว่างเจ้าหูตกฮอลแลนด์ลอป และมินิลอปนั้น เห็นได้จาก ฮอลแลนด์ลอป จะมีหัวที่กลมกว่ามินิลอป และมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่ามาก คือประมาณ 1.6-1.8 กิโลกรัม ในขณะที่มินิลอป จะหนักกว่าถึงสองกิโลกรัมเลยทีเดียว (ประมาณ 2.5-2.7 กิโลกรัม) และเมื่อโตเต็มที่ ใบหน้าความยาวของหู และสัดส่วนระหว่างหัวกับตัวจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ที่แตกต่างมากที่สุด ก็คือ เรื่องของ ขน ซึ่งกระต่ายฮอลแลนด์ลอปสายพันธุ์แท้จะมีขนที่นุ่มลื่นเป็นเอกลักษณ์

ส่วนในเรื่องของสีสัน เจ้าหูตกฮอลแลนด์ลอป ก็เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีสีสันให้เลือกมากมาย โดยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่าง ๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี คือ กลุ่มอะกูติ (Agouti) , กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) , กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) , กลุ่มสีพื้น (Self) , กลุ่มสีเฉด (Shaded) , กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ ซึ่งได้รับการรับรองโดย ARBA แล้วทั้งสิ้น และในปัจจุบันได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการรับรองเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2548 คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์


ที่มา:http://www.thaigoodview.com/files/u67443/22.jpg

อเมริกันฟัซซี่ลอป


ที่มา: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhjU_BX7zhi8HObXowdOm7DC4DheRsngNzIlqA9OBRgWYtiUai1kP1fK_KEWmJ-yJUaS2Nh6hdId8dzPt3IUWVS610ivBLEdldz7VvE1JEQ-k2_sewUDsb9n58tLHNalhebwr5sW_vqEgZF/s320/Fuzzy+Lop+1+(2).jpg

อเมริกันฟัซซี่ลอป (American Fuzzy Lop) กระต่ายขนาดเล็ก จัดอยูในกลุ่มกระต่ายแคระเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัด คือ หูตกแนบข้างแก้มสวยงาม และขนยาวสลวย ส่วนลักษณะเด่นอื่น ๆ ของสายพันธุ์นี้ ก็คือ ลำตัวสั้น กะทัดรัด หัวกลม ใหญ่ และติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ หูหนา แบน และยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะเป็นการแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ หัวและหูปกคลุมด้วยขนสั้นธรรมดา ขนที่หน้าสามารถตัดแต่งได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดา

ส่วนขนที่ตัวจะหนาแน่นเสมอกันตลอดทั้งตัว มีลักษณะขนค่อนข้างหยาบ และยาวไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว ด้วยลักษณะของ ขนของเจ้าหูตก อเมริกันฟัซซี่ลอป ที่มีสองแบบ คือ ขนชั้นในที่นุ่มฟู และมีขนาดสั้นกว่าขนชั้นนอกที่มีความยาวและแลดูหยาบกว่าขนชั้นใน ทำให้ดูเหมือนว่าเจ้ากระต่ายพันธุ์นี้มีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง ทั้งที่น้ำหนักของเค้าไม่ได้มากอยางที่คิด โดยตัวผู้จะมีนํ้าหนักเมื่อโตเต็มที่คือ 1.6 กิโลกรัม และตัวเมีย 1.7 กิโลกรัม ส่วนน้าหนักมากที่สุดของสายพันธุ์นี้ คือ 1.8 กิโลกรัม



ที่มา: http://s3.hubimg.com/u/920678_f496.jpg
อเมริกันฟัซซี่ลอป มีกลุ่มสีตามมาตรฐาน ARBA 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Group) กลุ่มสี ขนอะกูติ (Agouti Group) กลุ่มสีเฉด (Shaded Group) กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) กลุ่มขาวลายแต้มสีต่าง ๆ (Broken Group) และกลุ่มสีอื่น ๆ (Wide Band Group)

มินิเร็กซ์


ที่มา:http://www.bloggang.com/data/zuradoop/picture/1123644185.jpg

กระตายสายพันธุ์มินิเร็กซ์เป็นกระต่ายที่มีโครงสร้างสมดุลและได้สัดส่วน ร่างกายของมันกะทัดรัด มีความกว้างสมดุลกับความยาว ข่วงไหล่ ลำตัว และปั้นท้าย ทุกอย่างพัฒนามาอย่างดี หัวไหลแคบกว่าบั้นท้่้ายเล็กน้อย ทำให้ตัวค่อยๆ เรียวลง หัวของตัวเมียค่อยข้างเรียบกว่าหัวของตัวผู้
ขนในอุดมคติต้องยาว 5/8 นิ้้ว (1.6เซนติเมตร) ขนควรตรงและเป็นมัน มีการ์ดแฮร์จำนวนมาก ขนชั้นนอกให้ความรู้สึกนุ่มและสปริงตัว
รูปร่างลักษณะของกระต่ายลำตัว ลำตัวต้องสั้น เล็กกะทัดรัด ไหล่หนา และมีความกว้างเท่ากับความกว้างของสะโพก ความกว้างและส่วนสูง จะต้องใกล้เคียงกัน ไหล่โค้งได้รูปรับกับส่วนโค้งของสะโพกที่กลมกลึง ซึ่งทำให้เน้นความสูงของตัวกระต่าย โดยที่ความกว้างและส่วนสูงจะต้องสมดุลกัน
หัว หัวโต มีขนาดใหญ่สมดุลกันกับลำตัว ตัวผู้จะมีหัวใหญ่กว่าตัวเมีย หัวเป็นทรงกลมเมื่อมองจากทุกทิศทาง ส่วนโค้งของหัวมองดูกลมไม่มีสะดุด หัวตั้งสูงและติดกับไหล่มากที่สุด
หู หูจะต้องสั้นและตั้งอยู่บนส่วนหัว หูตั้งแต่ไม่จำเป็นต้องชิดติดกัน มีขนเต็มสม่ำเสมอ แสดงถึงความมีเนื้อของส่วนฐานของหู ปลายหูมน ความยาวของหูในอุดมคติคือ 2 นิ้ว ขนาดของหูต้องสมดุลกันกับหัวและลำตัว
ตา ดวงตาต้องกลม โต สดใส สีของตาต้องตรงตามมาตรฐานของประเภทสีที่ทำการประกวด ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดในเล่มต่อไป เช่น สีบลูหรือสีสวาดหรือสีเทาควันบุหรี่ ต้องมีตาสีเทา เป็นต้น ข้อยกเว้นในกระต่ายสีช็อกโกแล็ต สีไลแลคหรือสีเทากาบบัว และกลุ่มสีเฉด รวมถึงพวกสร้อยเงิน รูม่านตาอาจจะเป็นสีแดงสะท้อนออกมาได้ เรียกว่า Ruby Glow หรือ Ruby Red Reflection ในแสงปกติ ซึ่งกรรมการไม่ควรที่จะมาคำนึงถึงตรงส่วนนี้เวลาประกวด เพราะว่าไม่มีกระต่ายตัวไหนที่จะถูกตัดสิทธิ์หรือถูกหักคะแนนจากการที่มีสีแดงสะท้อนออกมาจากรูม่านตา
หาง ลักษณะของหางต้องตรง และมีขนเต็ม ถึงแม้ว่าจะไม่มีการให้คะแนนในส่วนหางของกระต่าย แต่ถ้าหางมีลักษณะที่บกพร่องบ้าง ก็อาจจะถูกหักคะแนนบ้างจากลักษณะประกอบอื่นๆ แต่ถ้าบกพร่องมาก ก็อาจจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดได้เช่นกัน
ขน ลักษณะขนต้องเป็นแบบโรลแบ็ค (Rollback) เท่านั้น โรลแบ็ค หมายถึง ลักษณะขนที่เมื่อใช้มือลูบย้อนแนวขน ขนจะค่อยๆ กลับคืนตัวสู่ตำแหน่งเดิม คุณภาพของขนต้องนุ่ม หนาแน่นสม่ำเสมอกัน ขนไม่ตายและเป็นมันเงางาม
สี ลักษณะของสีขนและสีตาต้องตรงกันตามมาตรฐานของสีนั้นๆ สีเล็บก็ต้องตรงตามมาตรฐานของสีนั้นๆ ด้วย กระต่ายจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด เมื่อปรากฏเล็บขาว ในกระต่ายสี สุดท้ายสีขนชั้นนอกและสีขนชั้นในไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ ไหล่แคบ ลำตัวยาวและแคบ หัวไหล่หรือสะโพกแคบ ส่วนโค้งหลังแบนราบไม่โค้ง ดังนั้นถ้าความกว้าง ความยาวและส่วนสูง ไม่สัมพันธ์กัน จึงถือว่าเป็นลักษณะที่บกพร่องทั้งสิ้น ลักษณะหัว ที่มีจมูกแหลม บาน หรือแบน ถือเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ หัวใหญ่หรือเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับตัว หัวไม่สมดุลกับตัวและหู หัวขาดความกลมถือเป็นลักษณะที่บกพร่องทั้งสิ้น หูบาง หูงอ หูพับ ขนที่หูไม่สม่ำเสมอ หูแบน หูเป็นรูปตัววีกางมากเกินไป เส้นขนยาวเกินไป ขนบาง ขนไม่หนาแน่น กระต่ายอยู่ในช่วงผลัดขน สีจางไม่เท่ากัน หรือมีสีปะคือมีสีอื่นปรากฏขึ้นมาในที่ที่ไม่ควรเป็น และที่ยอมไม่ได้มากที่สุดคือ ขนปรากฏเป็นแบบฟลายแบ็ค (Flyback) คือเมื่อลูบขนย้อนแนว จะตีกลับสู่ตำแหน่งเดิมในทันที ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟแตกต่างจากกระต่ายพันธุ์โปลิช
ลักษณะที่ปรับเป็นโมฆะจากการประกวด เมื่อมีเหนียงใต้คอ กระต่ายที่มีหูยาวเกิน 2 นิ้วครึ่ง เมื่อกระต่ายประกวดในกลุ่มสีใดๆ ถ้าหากปรากฏว่ามีขนแซมสีขาวขึ้นมา หรือกระต่ายสีขาว หรือกลุ่มสีฮิมาลายัน แต่ขนสีอื่นปรากฏแซมขึ้นมา จะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด
ที่มา: https://sites.google.com/site/yodsawadeetumwan/kratay-phanthu-phami-ni-reks-minirex



ที่มา: https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTy0Iy2eZ1_UWfJqIQgMVpRjfcTk1ziup_EL7PMngDDvHeNRZe

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น