วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

กระต่ายในตำนาน

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
กระต่ายในตำนาน และความเชื่อของชนชาติต่างๆ
สัญลักษณ์โบราณกระต่ายป่า 3 ตัว (The Three Hares) มีหูที่เชื่อมกันอยู่เป็นรูปสามเหลี่ยมและกำลังวิ่งไล่กันเป็นวงกลม เป็นความเคลื่อนไหวแบบไม่มีที่สิ้นสุด พบในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายประเทศ

กระต่ายในตำนาน และความเชื่อของชนชาติต่างๆ
ภาพจารึกเทพเจ้ากระต่าย (Nanabozho) ตามความเชื่อของชาวอเมริกันดั้งเดิม พบบนแผ่นหินในแคนาดา

"กระต่าย" ไม่ได้เป็นตำนานความเชื่อแต่ในแถบบ้านเรา แต่ก็ยังเป็นสัตว์ที่มีเรื่องเล่าและตำนานอยู่ในหลายชาติ ทั้งในแง่ลบและสร้างสรรค์แตกต่างกันไปตามพื้นที่ที่มีกระต่ายเกี่ยวข้องกับภูมิหลังที่คู่ขนานไปกับการพัฒนาของเผ่าพันธุ์ ไปดูความเชื่อของแต่ละชนชาติที่วิกิพีเดียรวบรวมไว้เกี่ยวกับกระต่ายกัน

* แอซเท็ค มีวิหารเทพกระต่าย 400 องค์ "เซ็นต์ซอน โตต็อชติน" (Centzon Totochtin) และยังมีเทพกระต่ายอีก 2 องค์ชื่อ "โอเมต็อชตลิ"(Ometotchtli) เป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์, การเฉลิมฉลอง และความมึนเมา

* แอฟริกากลาง มีกระต่าย "กาลูลู" (Kalulu) มีบุคคลิกฉลาดแกมโกง มีความสามารถในการต่อรอง

* จีน กระต่ายมีความเกี่ยวพันกับดวงจันทร์ และยังเชื่อมโยงกับปีใหม่จีน กระต่ายยังเป็นหนึ่งในสัตว์ 12 นักษัตริย์ในปฎิทินจีน อีกทั้งเวียดนามก็ยังใช้กระต่ายแทนแมวเป็นสัญญลักษณ์ในปีนักษัตริย์ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีกระต่ายอาศัยอยู่

*ญี่ปุ่น คนที่นี่เชื่อว่ากระต่ายอยู่บนดวงจันทร์และกำลังทำแป้งโมจิอยู่บนนั้น ความเชื่อนี้มาจากการสังเกตเห็นเงาบนดวงจันทร์ผนวกกับจินตนาการที่มีลักษณะคล้ายกระต่ายกำลังถือสากยักษ์ตำครกกระเดื่อง

*เกาหลี มีตำนานคล้ายกับญี่ปุ่น ที่เห็นกระต่ายกำลังตำแป้งอยู่บนดวงจันทร์ แต่ว่ากระต่ายเหล่านั้นกำลังทำ "ต็อก" เค้กข้าวของชาวเกาหลี

* ตะวันออกไกล ชาวยิวบอกว่ากระต่ายหมายถึงความขี้ขลาด รวมถึงชาวอิสราเอลที่พูดภาษาฮิบรูก็มีคำว่า "กระต่าย" อันหมายถึง "ขี้ขลาด" เช่นเดียวกับคำว่า "ชิกเก้น" ที่แปลตรงๆ ว่าไก่ในภาษาอังกฤษ

* อเมริกากลาง ชนเผ่าโอจิบวี (Ojibwe) ชาวอเมริกันดั้งเดิมมีนานาโบโซ (Nanabozho) หรือเทพกระต่ายผู้ยิ่งใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโลก

* เวียดนาม มองกระต่ายเป็นสัญญลักษณ์แห่งความไร้เดียงสาและอ่อนเยาว์ มีภาพเหล่าทวยเทพขณะกำลังไล่ล่ากระต่าย ก็เพื่อแสดงให้เห็นพละกำลังของเทพทั้งปวง

* เกาะพอร์ทแลนด์ ในดอร์เซ็ต สหราชอาณาจักร ก่อนหน้านี้ชาวเมืองเห็นว่า กระต่ายเป็นสัตว์โชคร้าย และการพูดคำว่า “กระต่าย” จะทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านเป็นอันตราย ดังนั้นถ้าใครจะพูดถึงกระต่ายก็จะใช้คำเลี่ยง เช่น เจ้าหูยาว แต่ช่วง 50 ปีหลังมานี้ความเชื่อดังกล่าวก็หายไป ผู้คนบนเกาะสามารถพูดคำว่า “กระต่าย” ได้อย่างเต็มปาก และ “เจ้าหูยาว” ก็กลายเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา

*ตีนกระต่าย เป็นเครื่องรางที่เชื่อว่าจะนำโชคให้แก่ผู้พกพา ซึ่งความเชื่อนี้มีอยู่ทั่วโลก และพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในยุโรปช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น