วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

มีโรคไข้กระต่าย

 

                                                     กระต่าย กระต่ายน่ารัก สัตว์น่าเลี้ยงมาแล้ว


                          

    

ICD-10A21
ICD-9021
DiseasesDB13454
eMedicinemed/2326 emerg/591 ped/2327
MeSHD014406
ไข้กระต่าย หรือ โรคทูลารีเมีย (อังกฤษ: Tularemia) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู และกระต่าย มีพาหะคือ ตัวเห็บ หรือ ตัวฟลี (Flea) ลำตัวแบน สีดำ มีขนาดเล็กมาก กระโดดได้ไกลมาก เห็บที่ดูดเลือดกระต่าย หรือสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ แล้วกระโดดไปเกาะและกัดอีกตัวทำให้ติดเชื้อกัน มีอาการเหมือนโรคกาฬโรค คือ ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้สูง มีน้ำมูก และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้สามารถติดจากสัตว์ไปสู่คนได้ทางลมหายใจ และสารคัดหลั่งต่างๆ
วิธีการป้องกันโรค คือ การพ่นยาฆ่าตัวเห็บ เพื่อตัดตอนพาหะออกไป
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายหรือสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระรอก หนู ควรปฏิบัติดังนี้
1. การตัดสินใจในการที่จะเลี้ยงสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระต่าย หรือหนู ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ไม่มีสัตว์ป่วย เช่น มีอาการเซื่องซึมไม่ปราดเปรียวอยู่ในกรงหรือในฝูงที่จำหน่าย
2. การเลี้ยงสัตว์เหล่านี้จะต้องรักษาความสะอาดทั้งตัวสัตว์ และอาหารสัตว์ที่นำมาเลี้ยง ควรกำจัดเห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยงให้หมด
3. หลังจากสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ ควรล้างมือทำความสะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะมือที่มีบาดแผล
4. ไม่ควรคลุกคลี หรือกอดหอมสัตว์เหล่านี้โดยตรง
5. สิ่งสำคัญ หากตัดสินใจเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ จะต้องคำนึงถึงโรคต่าง ๆ ที่อาจมีมากับสัตว์เหล่านี้ เพราะนอกจากโรคทูลาเรเมียแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่สัตว์เหล่านี้สามารถนำมาสู่คนได้
6. ส่วนผู้ที่เลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรมควรใส่รองเท้าบู๊ต เสื้อกาวน์ ถุงมือ และหน้ากากในการป้องกัน
ท้ายนี้ผู้อ่านไม่ควรตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ เพราะกระต่ายและสัตว์ฟันแทะไม่มีเชื้อโรคนี้ทุกตัว สามารถเลี้ยงดูเล่นได้ เพียงแต่ควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็เท่านั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น