วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคไข้กระต่าย

 นอกจากเชื้อไข้หวัดจากนกที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกันแล้ว สำหรับผู้ที่บริโภคหรือคลุกคลีกับ "กระต่าย" ก็ต้องระวังเชื้อโรคจากกระต่ายเช่นกัน

"โรคไข้กระต่าย" (Rabbit Fever) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ "โรคทูลาเรเมีย" (Tularemia) ตามข้อมูลของ นสพ.ธีรศักดิ์ ชักนำ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ถึงคน ที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่ง เนื่องจากสามารถติดต่อทางละอองฝอยได้ และสามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพที่สหรัฐอเมริกาจัดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545

แม้ว่าโรคจะนี้เกิดในแถบยุโรป เอเซียไมเนอร์ และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อปี 2551 หลายคนอาจจะคุ้นหู เพราะมีรายงานพบหญิงวัย 37 ปี ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ป่วยเป็นโรคไข้กระต่ายรายแรกของไทย และเสียชีวิตในที่สุด

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ฟรานซิสล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis) มี 4 ชนิด โดยชนิด A มีความรุนแรงที่สุด มักพบในสัตว์ป่ารวมทั้งสัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย หนู กระรอก กวาง แพรีด็อก และสามารถติดต่อมายังสัตว์เลี้ยงจำพวกวัว ควาย แกะ และแมว ได้โดยแมลงนำโรค

“ไข้กระต่าย” ติดต่อในสัตว์ป่าด้วยกัน แต่เมื่อนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงก็ทำให้โรคนี้ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน ทั้งโดยแมลงพาหะ หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ เข้าทางบาดแผล หรือถูกสัตว์ป่วยกัดโดยตรง การหายใจ หรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนได้เชื้อก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คน

เชื้อนี้จะใช้เวลาในการฟักตัวในคนประมาณ 3-5 วัน จึงจะแสดงอาการ

หากเชื้อเข้าทางผิวหนังจะเกิดบาดแผล ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตรงที่รับเชื้อ หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจผู้ติด เชื้อจะเป็นไข้แบบไทฟอยด์ คือมีไข้ หนาวสั่น โลหิตเป็นพิษ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไอแห้งๆ และอ่อนเพลีย หากผู้ป่วยมีอาการปอดบวมร่วมด้วยจะเจ็บหน้าอก มีเสมหะเป็นเลือด อึดอัด หายใจไม่สะดวก จนอาจหยุดหายใจ ลักษณะปอดบวมจากการตรวจทางรังสีทรวงอก

ทั้งนี้ อัตราตายของโรคแบบไข้มีประมาณ 35% สามารถรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ

อย่างไรก็ดี มีรายงานพบว่า เมื่อนำเนื้อกระต่ายที่นิยมบริโภคมาแช่แข็งในอุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส ไม่สามารถฆ่าเชื้อนี้ได้ เว้นแต่จะนำไปปรุงให้สุกในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที

สำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายหรือสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระรอก หนู กรมควบคุมโรคแนะนำว่า ให้เลือกซื้อหรือนำมาจากแหล่งที่ไม่มีสัตว์ป่วย อีกทั้งหากสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ควรล้างมือทุกครั้ง โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล ไม่ควรคลุกคลีหรือกอดหอม และต้องรักษาความสะอาดทั้งตัวสัตว์และสถานที่เลี้ยง ก็จะสามารถป้องกัน “โรคไข้กระต่าย” ได้.

 นอกจากเชื้อไข้หวัดจากนกที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกันแล้ว สำหรับผู้ที่บริโภคหรือคลุกคลีกับ "กระต่าย" ก็ต้องระวังเชื้อโรคจากกระต่ายเช่นกัน

"โรคไข้กระต่าย" (Rabbit Fever) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ "โรคทูลาเรเมีย" (Tularemia) ตามข้อมูลของ นสพ.ธีรศักดิ์ ชักนำ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ถึงคน ที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่ง เนื่องจากสามารถติดต่อทางละอองฝอยได้ และสามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพที่สหรัฐอเมริกาจัดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545

แม้ว่าโรคจะนี้เกิดในแถบยุโรป เอเซียไมเนอร์ และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อปี 2551 หลายคนอาจจะคุ้นหู เพราะมีรายงานพบหญิงวัย 37 ปี ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ป่วยเป็นโรคไข้กระต่ายรายแรกของไทย และเสียชีวิตในที่สุด

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ฟรานซิสล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis) มี 4 ชนิด โดยชนิด A มีความรุนแรงที่สุด มักพบในสัตว์ป่ารวมทั้งสัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย หนู กระรอก กวาง แพรีด็อก และสามารถติดต่อมายังสัตว์เลี้ยงจำพวกวัว ควาย แกะ และแมว ได้โดยแมลงนำโรค

“ไข้กระต่าย” ติดต่อในสัตว์ป่าด้วยกัน แต่เมื่อนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงก็ทำให้โรคนี้ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน ทั้งโดยแมลงพาหะ หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ เข้าทางบาดแผล หรือถูกสัตว์ป่วยกัดโดยตรง การหายใจ หรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนได้เชื้อก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คน

เชื้อนี้จะใช้เวลาในการฟักตัวในคนประมาณ 3-5 วัน จึงจะแสดงอาการ

หากเชื้อเข้าทางผิวหนังจะเกิดบาดแผล ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตรงที่รับเชื้อ หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจผู้ติด เชื้อจะเป็นไข้แบบไทฟอยด์ คือมีไข้ หนาวสั่น โลหิตเป็นพิษ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไอแห้งๆ และอ่อนเพลีย หากผู้ป่วยมีอาการปอดบวมร่วมด้วยจะเจ็บหน้าอก มีเสมหะเป็นเลือด อึดอัด หายใจไม่สะดวก จนอาจหยุดหายใจ ลักษณะปอดบวมจากการตรวจทางรังสีทรวงอก

ทั้งนี้ อัตราตายของโรคแบบไข้มีประมาณ 35% สามารถรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ

อย่างไรก็ดี มีรายงานพบว่า เมื่อนำเนื้อกระต่ายที่นิยมบริโภคมาแช่แข็งในอุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส ไม่สามารถฆ่าเชื้อนี้ได้ เว้นแต่จะนำไปปรุงให้สุกในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที

สำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายหรือสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระรอก หนู กรมควบคุมโรคแนะนำว่า ให้เลือกซื้อหรือนำมาจากแหล่งที่ไม่มีสัตว์ป่วย อีกทั้งหากสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ควรล้างมือทุกครั้ง โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล ไม่ควรคลุกคลีหรือกอดหอม และต้องรักษาความสะอาดทั้งตัวสัตว์และสถานที่เลี้ยง ก็จะสามารถป้องกัน “โรคไข้กระต่าย” ได้.

การเลี้ยงกระต่าย

โรคที่เป็นอันตรายต่อกระต่าย
โรคหวัด
หวัดในกระต่ายจะเกิดจากเชื่อแบคทีเรีย ซึ่งโรคหวัดนี้ก้อจะส่งผลต่อสุขภาพของกระต่ายโรคหวัดนี้ก็เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อกระต่ายเหมือนกัน
สาเหตุที่ทำให้กระต่ายเป็นหวัด
1.เกิดจากคนเลี้ยงไม่ทำความสะอาดที่อยู่ให้กับกระต่ายจึงทำให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค
2.เกิดจากที่อยู่ของกระต่ายไม่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีพอ
3.เกิดจากกระต่ายมีร่างกายไม่แข็งแรง จึงไม่อาจต้านทานโรคได้
4.เกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ
5.เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
อาการของโรคหวัดกระต่าย
อาการแรกๆของกระต่ายจะมีน้ำมูกและจามแต่บางทีอาจเกิดจากฝุ่นหรือน้ำเข้าจมูกดังนั่นเมื่อกระต่ายมีการจามหรือน้ำมูกไหลวิธีง่ายๆที่เราจะตรวจสอบว่ากระต่ายเป็นหวัดหรือไม่เราก็แค่ไปตรวจสอบที่เท้าของกระต่ายถ้าพบว่าขนติดกันหรือเท้าเปียกเราก็สามารถเดาได้แล้วว่ากระต่ายตัวนั่นเป็นหวัด
ทำอย่างไร เมื่อกระต่ายเป็นหวัด
1.ควนแยกกระต่ายตัวที่เป็นหวัดออกมาจกตัวอื่นให้เราที่สุดโรคหวัดนี่เป็นโรคที่ติดต่ออาจจะทำให้ตัวอื่นๆติดเชื่อไปด้วย
2.ควรย้ายกระต่ายที่ป่วยไปอยู่ในกรงใหม่แล้วน้ำกรงเก่าไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
3.ควรทำความสะอาดกระบอกน้ำและถาดอาหารให้ใหม่หมด
4.ควรเสริมหญ้าให้กระต่ายกินมากๆ
5.ควรพาไปหาหมดให้เร็วที่สุดหากปล่อยไว้ จะเป็นปอดอักเสบ
สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในการเลี้ยงกระต่าย
สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย
1.ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติควรน้ำกระต่ายไปพบสัตวแพทย์ทันที
2.จะอุ้มหรือจะสัมผัสกระต่ายควรทำอย่างเบามือ
3.ทำความสะอาดกรงอยู่สม่ำเสมอ
4.ควรให้อาหารที่เหมาะสมแก่กระต่าย
5.ควรให้กระต่ายรับประทานอย่างถ่ายพยาธิอย่างน้อยปีละ1ครั้ง
สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย
1.อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาด
2.อย่าให้อาหารประเภทที่เป็นขนมและแป้ง อาจจะทำให้ส่งผลเสียต่อกระต่าย
3.อย่าเลี้ยงกระต่ายตามแฟชั่น
4.อย่าอาบน้ำกระต่ายบ่อยเกินไป
5.อย่าน้ำกระต่ายไว้แต่ในกรงควรน้ำออกมาเล่นข้างนอกบ้าง

ขั้นตอนการเลี้ยงกระต่าย
การเลี้ยงกระต่ายควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอย่างหารหลัก และอาหารเสริมควรให้ผักและผลไม้เล็กน้อย การให้หญ้าจะส่งผลดีต่อสุขภาพของกระต่ายมากเพราะหญ้าจะช่วยในการขับถ่าย และในฤดูต่างๆกระต่ายอาจจะป่วยได้เพราะเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ ดังนั่นผู้เลี้ยงควรใส่ใจและดูแลสุขภาพของกระต่ายอยู่สม่ำเสมอ
อาหารของกระต่าย
หญ้า หญ้ามีหลายชนิดที่กระต่ายกินได้ซึ่งมีขายตามท้องตลอดหรือไม่ก็อยู่บริเวณบ้านเรา
อาหารเม็ด อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายมีหลายยี่ห้อแต่แต่การกินอาหารเม็ดมากเกินไปอาจจะทำให้กระต่ายไม่แข็งแรงดังนั่นเราควรให้อาหารสำหรับกระต่ายเพียงสองครั้งคือตอนเช้าและตอนเย็นผักและผลไม้ กระต่ายที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือนไม่ควรให้กินผักและผลไม้เพราะจะทำให้กระต่ายท้องเสีย
อุปกรณ์ในการเลี้ยงกระต่าย
กรง ควรซื้อกรงที่เป็นสแตนเลสและกรงที่ดูแลง่ายมีอากาศถ่ายเทสะดวกและปลอดภัยแก่กระต่าย
ขวดน้ำแขวน กระต่ายจำเป็นที่ต้องได้รับน้ำสะอาดทุกๆวันขวดน้ำแขวนจึงเหมาะแก่กระต่ายเพราะทำความสะอาดง่ายและไม่หกใส่กระต่าย
กระถางใส่อาหาร ควรเลือกกระถางใส่อาหารที่มีน้ำหนักพอประมาณกระต่ายจะได้ไม่คว่ำกระถางอาหารเล่นได้
ขั้นตอนการดูแลกระต่ายประจำสัปดาห์
1. ความทำสะอาดกรงและภาชนะใส่น้ำและอาหารของกระต่ายทุกๆสัปดาห์เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นและป้องกันเชื่อโรค ถ้าอยากให้ดีควรฉีดน้ำยาฆ่าเชื่อด้วย จากนั่นก็ตากให้แห้ง
2. ตรวจสุขภาพประจำสัปดาห์ให้กับกระต่ายของท่าน และคอยสังเกตดูกิริยาของมัน ไม่ว่าจะเป็นการ นั่ง เดิน การนอนต่างๆ ว่าผิดปกติหรือป่าว
3. หมั่นดูการกินอาหารของมันว่าผิดปกติหรือป่าว ถ้ามันไม่ทานอะไรเลยติดกันหลายๆวันแสดงว่าผิดปกติ ควรจะสอบถามผู้รู้ หรือนำไปพบแพทย์โดยด่วน
4. สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หมั่นเอาใจใส่ และให้ความรักแก่กระต่ายของท่าน
ขั้นตอนการดูแลกระต่ายประจำวัน
การเลี้ยงกระต่ายไม่ใช้เรื่องยากซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของเราอยู่แล้วที่เราจะดูแลสัตว์เลี้ยงที่เรารักเราต้องหมั่นทำความสะอาดทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน
ขั้นตอนการดูแลกระต่ายประจำวัน
1.เราความสังเกตสุขภาพของกระต่ายว่าเป็นยังไงบ้าง เช่น การเดิน การรับประทานอาหาร
2.ความปล่อยเจ้ากระต่ายวิ่งเล่นไปมาแต่ความจำกัดขอบเขตบ้างเพื่อป้องกันอันตราย
3.ควรเปลี่ยนน้ำดื่มของกระต่ายทุกวัน




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น